top of page

แผนเกษียณอายุ

แผนนี้เหมาะสำหรับใครบ้าง

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้มีมรดกก้อนโตหลายสิบล้านขึ้นไป มันเป็นเรื่องท้ายทายมากครับว่า เราจะรับมือกับวัยเกษียณอันแสนยาวนานหลายสิบปีได้ดีแค่ไหน และถ้าเริ่มช้าก็ยิ่งยากขึ้นไปอีกเพราะมีเวลาน้อยลง มาวางแผนเตรียมทางให้ตัวเองตั้งแต่วันนี้กันครับ

รายละเอียดและเงื่อนไข

แผนเกษียณ เป็นแผนที่สำคัญที่คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะพ่ายแพ้ เนื่องจากไม่ได้เตรียมตัวตั้งแต่ในช่วงวัยทำงาน ที่ยังพอมีเวลา และเป้าหมายนี้จะค่อยๆยากขึ้นตามลำดับเพราะเวลาในวัยทำงานค่อยๆน้อยลง ในช่วงวัยสูงอายุนั้น คนส่วนใหญ่ไม่มีรายได้จากการจ้างงาน แต่จำเป็นต้องมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นไปตลอดชีวิต

คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีพื้นฐานความรู้เรื่องการวางแผนเกษียณตั้งแต่วัยเด็กเหมือนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เริ่มคิดเรื่องนี้หลังอายุเกิน 45 ปี และทำให้พวกเขามีเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น ในการวางแผนเก็บเงินเพื่อใช้จ่ายอีกราว 30-40 ข้างหน้าเกษียณอายุของแต่ละท่านนั้นไม่เหมือนกัน เป้าหมายต่างกัน สิ่งที่เตรียมไว้แล้วก็ต่างกัน เวลาที่มีก็ไม่เท่ากัน รายได้ก็ไม่เท่ากัน เครื่องมือที่เหมาะสมก็ต่างกัน

แผนเกษียณนั้นเกี่ยวพันกับการจัดการทางการเงินทั้งระบบ ตั้งแต่การวางแผนรายรับ รายจ่าย ทรัพย์สิน หนี้สิน และเป้าหมายอื่นๆในชีวิตด้วย เพราะก่อนจะถึงวัยเกษียณเราจำเป็นต้องมีเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตก่อนหน้านั้นเช่นกัน ใช้เครื่องมือทางการเงินร่วมกันหลายเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเงินฝาก ประกันบำนาญ ประกันสะสมทรัพย์ กองทุนรวมประเภทต่างๆ หุ้น ในสัดส่วนส่วนที่แตกต่างกันตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล

หนึ่งในเครื่องมือสนับสนุนแผนเกษียณที่เราแนะนำ สำหรับคนส่วนใหญ่คือการสร้างพอร์ทกองทุนรวม เป็นแผนเกษียณที่เหมาะกับคนส่วนใหญ่ของสังคม ที่ยังมีทรัพย์สินมากเพียงพอสำหรับการเกษียณ ที่อาจไม่ได้มีเวลาในการติดตามสถานะการณ์ทางเศรษฐกิจ แน้วโน้มปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ ประเด็นอ่อนไหวต่างๆ ที่มีผลต่อราคาสินทรัพย์เหมือนกับนักลงทุนมืออาชีพนั่นเอง

“กองทุนรวม” คือ การระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายรายมารวมกัน ให้เป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ผู้ทำหน้าที่ระดมเงินทุนจะนำกองทุนไปจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล และนำเงินกองทุนนั้นไปลงทุนตามนโยบายตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน

นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับจัดสรร “หน่วยลงทุน” เพื่อแสดงสถานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ได้ลงทุนไป ดังนั้น ผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมจึงถูกเรียกว่า “ผู้ถือหน่วยลงทุน” กองทุนรวมที่เสนอขายครั้งแรก (Initial Public Offering – IPO) จะมีราคาหรือมูลค่าหน่วยลงทุนเริ่มต้นที่ 10 บาท เมื่อ บลจ. นำเงินกองทุนไปบริหารตามนโยบายการลงทุนแล้วเกิดผลตอบแทนขึ้น
บลจ. จะจัดสรรผลตอบแทนนั้นให้ผู้ถือหน่วยลงทุนตามจำนวนหน่วยที่มีอยู่ มูลค่าหน่วยลงทุนจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากมูลค่าเริ่มต้น ขึ้นกับการบริหารของ บลจ.ในการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน
*แหล่งที่มาของข้อมูล : ห้องเรียนนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (https://www.set.or.th/set/education/main.do)

จุดเด่นของกองทุนรวมที่คนส่วนใหญ่นิยมคือ มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการลงทุน
ให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายทางการเงิน สามารถกระจายการลงทุนได้ โดยใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มาก รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับ SSF/RMF ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร มีมืออาชีพที่เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกคอยบริหารจัดการให้เพื่อสร้างความมั่นใจและลดภาระให้กับผู้ลงทุน เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ลงทุนในการติดตามการลงทุน จากข้อมูลและรายงานสถานการณ์ลงทุนที่ บลจ. จัดให้สม่ำเสมอ
_________________________________________________________

ประเภทของกองทุนรวม
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้คุณภาพดีที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำหรือสำหรับการลงทุนระยะสั้นๆ โดยทั่วไปให้ผลตอบแทนที่ดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และผลตอบแทนที่ได้ ก็ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย

กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ของภาคเอกชน ผลตอบแทนที่กองทุนได้ร้บจากการลงทุนส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ย และอาจมีส่วนต่างของราคาต้นทุนของตราสารหนี้ที่ลงทุนกับราคาตลาดที่มีการคำนวณทุกวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนได้ต่างกันในแต่ละช่วงเวลา

เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างต่ำคาดหวังความสม่ำเสมอของผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม ราคาของกองทุนตราสารหนี้อาจมีความผันผวนได้ตามภาวะตลาด ดังนั้น การลงทุนควรเป็นไปตามระยะเวลาที่แนะนำ เช่น กองทุนตราสารหนี้ระยะปานกลาง ควรลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

กองทุนรวมผสม (Mixed Fund) คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนทั้งในตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์อื่นๆ ดังนั้น ผลตอบแทนที่กองทุนได้รับและความเสี่ยงของการลงทุนจะแตกต่างไปตามสัดส่วน การลงทุนของแต่ละตราสาร เช่น กองทุนผสม A ลงทุนในหุ้น 50% ตราสารหนี้ 50% จะมีความเสี่ยงสูงกว่า กองทุนผสม B ที่ลงทุนในหุ้น 20% และตราสารหนี้ 80% เหมาะกับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางค่อนข้างสูง หรือต้องการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ภายในกองทุนเดียว โดยมีผู้จัดการกองทุนคอยบริหารสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะกับแต่ละภาวะตลาด

กองทุนรวมตราสารทุน (Equity Fund) หรือ กองทุนรวมหุ้น คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น เช่น หุ้นสามัญ
หุ้นบุริมสิทธิ หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant) รวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอื่นๆ กองทุนหุ้นจะถูกกำหนดให้มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน บางกองทุนมีนโยบายลงทุนตามขั้นต่ำ แต่ละกองทุนอาจลงทุนสูงสุดที่ 100% การลงทุนในหุ้นมีความผันผวน ซึ่งนำไปสู่ทั้งโอกาสและความเสี่ยง ดังนั้น กองทุนหุ้นจึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง สามารถลงทุนระยะยาวได้ และเข้าใจว่าการขาดทุนระยะสั้นอาจเกิดขึ้นได้

กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund: FIF) คือ กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศ ซึ่งมีนโยบายให้เลือกลงทุนหลากหลายเช่นเดียวกับกองทุนในประเทศ เช่น กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ กองทุนหุ้นต่างประเทศ เป็นต้น เนื่องจากแต่ละประเทศมีสภาพเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองแตกต่างกัน สินทรัพย์ในต่างประเทศกับในประเทศไทย อาจมีผลตอบแทนแตกต่างกัน การเลือกลงทุนใน FIF จึงเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยง นอกจากความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละตราสารการลงทุนแล้ว การลงทุนใน FIF ยังมีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนด้วย นักลงทุนจึงต้องสามารถรับความผันผวนของค่าเงินที่กองทุนไปลงทุนด้วยเช่นกัน

กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund: SSF)คือ กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากภาครัฐ โดยผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่ลงทุนจริงสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปี และไม่เกิน 200,000 บาท โดยเมื่อนับรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท SSF สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้ หลากหลายประเภทเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้, หุ้น, REITs โดยสามารถลงทุนได้ทั้งในและต่างประเทศจึงเป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนทุกประเภทที่สามารถลงทุนระยะยาวได้

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF)คือ กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมและเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณอายุ โดยผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามที่ลงทุนจริงสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ* ต้องไม่เกิน 500,000 บาท RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย ตั้งแต่การลงทุนในตลาดเงิน ตราสารหนี้ ตราสารผสม และ หุ้นทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้น ผู้ลงทุนสามารถเลือกออมเงินลงทุนตามความเสี่ยง ความคาดหวังในผลตอบแทน และระยะเวลาการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง ดังนั้น RMF จึงเป็นทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับ นักลงทุนทุกประเภทที่สามารถลงทุนระยะยาวได้

กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก (Alternative Investment)คือ กองทุนรวมที่ลงทุนในทรัพย์สินทางเลือกต่างๆ เช่น
หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมันดิบ รวมถึงทองคำ กองทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงมาก เนื่องจากทรัพย์สินที่ไปลงทุนอาจมีความผันผวนของราคาสูงมาก หรืออาจไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย หรือราคาอ้างอิงกับสินทรัพย์อื่นๆ ดังนั้น ผู้ที่จะเลือกลงทุนในกองทุนประเภทนี้ ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ไปลงทุน ลงทุนระยะยาว และสามารถรับความเสี่ยงได้สูง

*เงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ ประกอบด้วย กองทุน SSF กองทุน RMF กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

บริการให้คำปรึกษาฟรี

ผู้เชี่ยวชาญของเราจะสัมภาษณ์เก็บข้อมูลรายจ่ายจำเป็นตามรูปแบบการดำเนินชีวิตของลูกค้า และคำนวณเงินเฟ้อเพื่อหาเป้าหมายในการเก็บเงินระยะยาว เพื่อการเกษียณโดยพิจารณาสิ่งที่เตรียมไว้แล้ว เพื่อทราบเป้าหมายที่ต้องเตรียมเพิ่ม พิจารณาระยะเวลาและความสามารถในการเก็บออม เพื่อทราบผลตอบแทนที่ต้องการแล้วจึงนำมาสร้างพอร์ทการเก็บเงินระยะยาวเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการเกษียณได้อย่างเหมาะสม โดยจะแนะนำเรื่องการสำรองสภาพคล่องให้พอใช้ในระดับที่เหมาะสม และการดอนย้ายความเสี่ยงด้วยประกันประเภทต่างๆที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป

ผู้ให้คำปรึกษา

คุณณัฏฐโชติ อุสาหะ (คุณจอม)
Founder & MD of PLANNER.co.th
MDRT2022-2024
FChFP
ประสบการณ์ 8 ปี

ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ในช่องทางดังต่อไปนี้

Phone : 061-552-6888
Line : @planner.co.th
Messenger : m.me/planner.co.th
Facebook : fb.com/planner.co.th

bottom of page